เหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิต (ก็ว่าได้) นาย..กระดิ่งทอง..ถึงวาระสำคัญแห่งชีวิตอีกครั้ง คือ "ต้อง" เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
นั่นคือ..ระดับชั้นปริญญาโท "วิศวกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม" ของ..มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2554
กว่าจะสำเร็จนะท่านเอ๋ย...ไม่มีของดีและถูก รวมทั้งของฟรีไม่มีในโลกครับ ฉันใดก็ฉันนั้น ....
ก่อนที่จะไปรับจริง วันนี้ต้องซ้อมรับปริญญาบัตรก่อนนะ การซ้อมต้องซ้อมกันถึงสองวันแน่ะ
โดยกำหนดเป็นวันที่ 19-20 มกราคม 2556 นักศึกษาที่เข้าร่วมซ้อมรับปริญญาสำหรับปี 2556 นับรวมตั้งแต่ปริญญาตรี ,ปริญญาโท ,ปริญญาเอก ประมาณ 5,000 คน
เรียกได้ว่าปีหนึ่ง ๆ จบการเยอะน่ะ นี่แค่ของ มจพ. หรือ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือนะ
แหละยังมีของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบังอีกน่ะ โดยนับรวมกันแล้วปีนี้ของทั้งสามแห่งกว่า 12,000 ท่าน
นับวัน...คนที่มีความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเชื่อตามหลักไสยศาสตร์ก็ "น่าจะ" น้อยลง ๆ แต่คงจะไม่หมดหรอก ต้องใช้เวลาอีกนาน
กระผม..พร้อมกับ พี่เอ๋ รวมทั้ง พี่เมศ เราเข้าไปนอนพักที่ กทม. เลยครับ เนื่องจากลดความเสี่ยงการเดินทาง และปรารถอยากชมเมืองหลวงด้วย เพราะว่า...เรามันคนบ้านนอก
สถานที่ที่จองพักไว้คือ P-Park Residence ตั้งอยู่แถบแม่น้ำเจ้าพระยา ถือว่าเป็นด้านหน้าของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือก็ว่าได้
ระยะทางประมาณ 1.8 กม. สนนราคาห้องละ 1,200 บาท สองคืนรวม 2,400 บาท พักกันตั้งสามท่าน
ส่วน "น้องหมาก" นั้นมาสมทบภายหลัง แต่พอตกดึกเห็นเพื่อน ๆ มาพักด้วยหลายท่านแน่ะ ไม่ว่าจะเป็น คุณน้อย , น้องอาร์ต , คุณปริญญา
ตกเย็น...พี่เมศพาออกไปรับประทานอาหารและดื่มด่ำบรรยากาศแบบ "ร้านลาบ" ซึ่งพี่เมศกล่าวว่า ดินแดนแห่งนี้ในอดีตยังไม่เจริญเลย
กล่าวได้ว่าคือ "บ้านนอก" และพี่เมศคุ้นเคยมาก หรือจะเรียกว่า "ป่าอุจจาระ" ก็ได้
แต่สำคัญตอนที่เพิ่งเข้ามาถึง กทม.แหละกำลังขับรถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาน่ะสิ ผมถามว่า "นี่แม่น้ำอะไรพี่" พี่แกตอบ "แม่น้ำโขง" จบข่าว
พี่เมศ...เพิ่งจะออกรถมาใหม่ด้วย กระผมก็ขอบันทึกภาพกับรถใหม่ของพี่เมศหน่อย พี่เมศบอกเป็นน้ำพักน้ำแรงของพี่เลยนะเนี๊ยะ ใจจริงจะซื้อด้วยเงินสดแหละ
..แต่..แรงจูงใจเรื่องดอกเบี้ยมีมากคือผ่อนสี่ปีดอกเบี้ย 50,000 บาท งั้นขอเก็บเงินสดไว้ละกันนำไปทำอย่างอื่นให้ได้ประโยชน์มากกว่าดอกเบี่ยละกัน (พี่เมศและหลายคนก็คิดอย่างนั้น)
วันเดินทางไปมี "พี่เอ๋" อีกท่านหนึ่งเป็นเพื่อนคุยกันตลอดทาง เนื่องจากว่าไม่ได้พบกันมาซักระยะหนึ่งแล้วนั่นแหละ การสนทนาก็เล่าเรื่องจิปาถะไปเรื่อย
หนึ่งในนั้นก็เล่าถึง "งานใหม่" ของพี่เมศที่ได้งานทำกับ "ชาวอินเดีย" แรก ๆ พี่เมศบอก ...อยู่กับอินเดียโคตร "งง" เลย เนื่องจากถ้าเขาบอก "Ok" หรือ "ใช่" เขาจะ "ส่ายหัว" และถ้าเขาบอกว่า "No" หรือ "ไม่" เขาจะ "พยักหน้า"
ต้องปรับตัวอยู่นานว่าความหมายนี้มันคืออะไร ส่วนคำว่า "ฮัทช่า" นั้นคืออะไรผมก็จำไม่ได้
ประเทศอินเดียเขาพัฒนาตัวเองได้เร็วนะ แต่ภายในประเทศก็ยังแบ่งแยก "วรรณะ" อย่างชัดเจน นั่นก็เป็นเรื่องของเขา
ประเทศไทยเรื่อง "วรรณะ" น่ะจบไปนานแล้ว แต่..ก็จะแบ่งแยกกันเองว่า "บ้านนอก" หรือ "จน" กับ "รวย" เช่นเคย
สำคัญอีกอย่าง "ข้าใหญ๋นะเว้ย...เฮ้ย" หรือ "รู้มั้ยว่า..ข้า..ลูกใคร" ตัวคุณเองยังจำแม่ตัวคุณเองไม่ได้เลย หรือ "สำส่อน" จนหาที่มาไม่ได้
รุ่งเช้าของวันที่ 19 มกราคา 2556 เวลาที่นัดพบกันคือ 06.00 น. เพื่อรวมตัวกันที่ "สวนปาล์ม" ชื่อฟังแล้วแหม๊...คงกว้างและเยอะเน๊าะ มีไม่กี่ต้นหรอกท่าน ก็เรียนสวนปาล์มตาม ๆ เขาไป
ไปถึงคนยังน้อย แม่ค้าแม่ขายนำดอกไม้มาวางขายก่อนเราจะมาซะอีก เขาน่าจะมาตั้งแต่ "ตีสาม" คงอาจจะตื่นตั้งแต่ เที่ยงคืน ไม่งั้นจองที่ขายไม่ได้หรอก
ซุ้มดอกไม้ที่รุ่นน้องจัดไว้อย่างสวยงาม "พี่เอ๋" จึงของจัดซักภาพละกัน กล้องก็ไม่ค่อยจะเป็นใจเท่าไร บันทึกออกมาแล้ว "แสงไม่พอ" ทำให้ภาพไม่ชัดเท่าที่ควร
เช้านั้นตื่นกันตั้งแต่ 04.30 น. นี่ขนาดนอนอยู่แถว ๆ ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยนะ ก็เพราะอยู่กันสามคนไง กว่าจะ "สรงน้ำ" เสร็จแต่ละท่าน ใช้เวลาไม่น้อยนะ ยังไม่นับรวมถ่ายหนักอีก
คนไทยก็ยังคล้าย ๆ เดิม นัดไว้ 06.00 น. ก็มาไม่ถึงครึ่ง กลายเป็นวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ๋ไปซะแล้ว จริง ๆ ก็เป็นมานานแล้วแหละ ต้องนัดเผื่อ พอนัดเผื่อคนที่ตรงเวลาก็เหนื่อย
นี่ดู...ขนาดเรียกแถวแล้วนะ....เพื่อน ๆ ก็ต้องยืนรอกันตั้งนาน ถือว่านานมากสำหรับกลุ่มนี้ ที่เรียกเข้าแถวนั้นจะต้องไป "ถ่ายรูปหมู่" ไว้เป็นประวัติศาสตร์ของแต่ละรุ่นแต่ละคณะ
ในเมื่อมีคนมาช้า เขาก็จะรอให้ครบกันทุกคนจึงจะพาไปถ่ายรูปได้ ทำให้กลุ่มที่ต่ออยู่ด้านหลังก็ต้องยืดเวลาออกไปเรื่อย ๆ
"วินัย"...หรือ "คำอ้าง" เกิดได้กับทุก ๆ คนที่ไม่มีวินัยสำหรับตัวเอง
กลุ่มเรา "รอ" เพื่อที่จะเข้าแถวให้เขานำไปถ่ายรูปหมู่ จึงบันทึกภาพของตนเองไปก่อน จะได้เก็บไว้เป็น "ความทรงจำ" มันคงเป็นครั้งเดียวในชีวิตแน่ ๆ จะทำซ้ำไม่ได้เพราะไม่ใช่การถ่ายทำภาพยนต์
วันนี้ นักศึกษา X-mie R-4 ดูชื่นมื่นกันทุกคน เพราะไม่ได้เจอกันนาน สำหรับสาว ๆ นั้น "แต่งหน้าทาปาก เขียนคิ้ว" ผมเห็นแล้ว เฮ๊ย...ย ใช่ "ตุ๊ก" และ "หญิง" หรือมั๋ยนั่น มีแต่ "คุณน้อง" คนเดียวที่ไม่ทำอาราย แรกเจออย่างไรวันนี้ก็อย่างนั้น
สำหรับท่านหัวหน้าห้อง "พี่โจ้" นี้ต้องกล่าวถึงหน่อยครับ ไม่ค่อยได้มีภาพกับเขาซักเ่ท่าไร เพราะพี่ท่านก็จะไม่ค่อยว่าง "ตำแหน่งใหญ่งานเยอะ" ครับ
เมื่อรอจนได้ "คิว" ของตัวเองแล้วก็ตั้งแถวแล้วนักศึกษาก็นำกลุ่มเราไป "ถ่ายภาพหมู่" ของคณะวิศวกรรมศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม
...ชมภาพขณะที่รอเข้าแถวไปบันทึกภาพกันนะ...
ขณะที่เดินทางไปมี "คุณสุทัศน์" เดินอยู่ข้าง ๆ เราก็ได้สนทนาอะไร ๆ ไประหว่างทางบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย
เจอกันครั้งนี้บอกมีเครื่องจักรใหม่มานำเสนออีก โอ๊ว....ว "ล้ำหน้า" เป็นธรรมดาครับ อาชีพเซลล์ก็จะต้องมีสิ่งใหม่มานำเสนอกับลูกค้าตลอด เพราะโลกมันพัฒนาหรือเปลี่ยนไปไม่หยุดนิ่งนี่นา
ถัดมาอีก เป็นมือ "พิณ" แห่งเมืองอุบลฯ ไม่ใช่ ...มือ "กีต้าร์"..ต่างหาก คนนี้เล่นกีต้าร์ได้มันส์สะใจมากครับ
เพราะตอนงานปัจฉิมนิเทศน์นั้น ดึกดื่นและเมาเพียงใดท่านก็ยังสามารถเล่นเพลงได้อย่าง "เมา" และ "มันส์"
แหละก็ยังชอบเล่นดนตรีหลาย ๆ แบบด้วยนะ ร้องเพลงก็ไพเราะ มันเป็นความถนัดเฉพาะตน เรื่องแบบนี้สามารถเลียนแบบได้ครับเพราะเป็นสิ่งที่ดี
ถัดมาอีกท่านหนึ่ง ก็เป็นกลุ่มของ A-2 อมตะเช่นเคย "เป็นคนอีสานบ้านเฮา" นี่แหละ เจอกันครั้งแรกนึกว่าเป็นคน "กรุงเตพ" แหม...ที่ไหนได้ คนบ้านเดียวกันนี่เอง
เลยต้อง "เว้า" กันยาวเลย เรียกได้ว่า "ไม่ลืมซาติ" ของตนเอง บางคนนี่ไม่ได้นะ "กล้วเขารู้กำพืด" หรือ "อาย" ก็ไม่แน่ใจ
...เรามาชมภาพกันสนทนานั้นดีกว่า...
เราเดินมาเรื่อย ๆ ก็ใกล้จะมาถึง "แท่น" ยืนถ่ายภาพหมู่ แต่...ก่อนจะถึงสถานที่ถ่ายภาพนั้น เราเจอกับท่านอาจารย์ ดร.ดร.อรรถกร เก่งพล
ท่านอาจารย์ยืนต้อนรับนักศึกษาที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่าน โดยเฉพาะนักศึกษาอมตะรุ่นที่ 2 ซึ่งท่านอาจารย์เป็นที่ปรึกษาของรุ่นนี้โดยตรง
สมัยที่นักศึกษา X-mie R-4 และ A-2 ไปดูงานต่างประเทศ นับรวมทั้ง 3 ประเทศ นั่นคือ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ , ประเทศออสเตรีย ,ประเทศเยอรมัน
ท่านอาจารย์อรรถกร เก่งพล ก็อาสาเล่าประสบการณ์ต่างประเทศที่ท่านมีให้ฟังตลอดทาง ทั้งสามประเทศนั้นท่านอาจารย์พาเดินเที่ยวจุดสำคัญ ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ตลอดงานเลย
ยุโรปที่เจริญแล้ว..ผมว่าเป็นสถานที่ที่น่าหลงไหลมาก ถึงแม้บางแห่งจะถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หลายแห่งก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ให้คล้ายของเดิมที่มีอยู่
เมื่อเห็นสถานที่แล้ว ไม่แปลกใจเลยที่เขาพัฒนาได้เร็วและนานแล้วเสียด้วย มนต์ขลังที่มีในอดีตบวกกับสมัยใหม่ที่สร้างเพิ่มเติมน่าชวนชมเป็นอย่างยิ่ง
ลิงท์สมัยที่ไปดูงานยุโรปนั้นท่านสามารถติดตามได้ตามนี้ครับ
ถึงแล้วครับ...จุดที่เป็นแท่นขึ้นไปยืนถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน ซึ่งก็จะถ่ายกลุ่มใครกลุ่มมัน กลุ่มของเรานั้นเป็น "คณะวิศวกรรมศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม" แต่ละรุ่นนั้นนับ ๆ แล้วก็น่าจะกว่าร้อยชีวิต
ผมสังเกตุจากการทำงานแล้ว "มืออาชีพ" มากเลย กล้องและอุปกรณ์ที่ใช้นั้นขั้นแสนต้น ๆ บางชิ้นอยู่กลาง ๆ ล้าน
เรื่องคุณภาพนั้นก็น่าจะตามราคาของอุปกรณ์นะ และกรอบรูปมีให้เลือกใช้งานนั้นก็มีหลายหลาย เยอะเสียจน "ลังเล" ที่เลือกไปแล้วน่ะ
....ชมภาพขณะเดินไปถ่ายภาพหมู่เลยละกัน....
เมื่อถ่ายรูปหมู่เสร็จกระผมจึงขอถ่ายภาพกลุ่มนักศึกษา "X-mie A2" ไว้เป็นที่ระลึกซักหน่อย ซึ่งกระผมรวบรวมได้ 4-5 ท่าน
เนื่องจากเมื่อเลิกถ่ายภาพหมู่แล้วก็กระจัดกระจายกันไปสั่งจองภาพถ่ายกัน แหละช่วงนี้คนเยอะมาก อาจจะชุลมุน
สิ่งหนึ่งยิ่งทำให้มองหากันยาก..เพราะ..สีและชุดเหมือนกันหมด ครั้นจะเดินตามกันมารวมให้มากสุดก็ "เหนื่อย" แน่ ๆ จึงขอบันทึกภาพเท่่าที่รวมรวมได้ละกัน
กลุ่มนักศึกษา X-mie A2 กระผมถือว่าสามารถ "รวมกลุ่ม" ก้ันได้ดีมาก อยู่กันแบบพี่แบบน้อง คล้าย ๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีอย่างนั้นเลย
ให้ความเคารพกันและหยอกล้อฉันท์มิตร ซึ่งความรู้สึุกแบบนี้ "หายาก" กับสภาพการศึกษาลักษณะเช่นนี้
รุ่น X-mie A2 จะมี "พี่สุชาติ" เป็น "พี่ใหญ๋" ว่างั้นเถอะ สมาชิกก็ฟังพี่ใหญ่กันทุก ๆ ท่าน พี่ใหญ่ว่าอย่างไรหรือปรึกษาแล้วได้ความว่าไง พี่ใหญ่ก็กล่าวสรุป จากนั้นก็นำไปปฏิบัติ
การกระทำเช่นนี้จะนำมาซึ่ง "การพัฒนา" ได้อย่างรวมเร็ว...เพราะ...ไม่แตกแยก ซึ่งความเห็นพ้องต้องกันจะทำให้ทำในสิ่งเดียวและสำเร็จได้เร็ว ไม่ใช่ "ขัดขวาง" การดำเนินงานกันอยู่ตลอดเวลา
หรือคราวนี้เป็นทีของข้า คราวหน้าเป็นทีของเอ็ง สิ่งที่เอ็งทำมาข้าไม่สนับสนุนต่อ ข้าก็จะทำตามแบบของข้านี่แหละ
เมื่อไรเอ็งได้เข้ามาดำเนินงานก็ให้รื้อฝื้นงานของเอ็งละกัน ซึ่งแบบนี้มีตัวอย่างไม่ไกลครับ "ไทยเรานี่ไง" ถึงได้ "ย่ำ" อยู่กับที่
จากนั้นผมก็พบกับ "คุณโอ" ผมจึงเดินสนทนากับคุณโอไปเรื่อย ๆ วันนี้ถือว่าเป็น "วันแห่งความภาคภูมิใจ" ของเราทั้งหลายก็ว่าได้ เพราะการศึกษาตลอดระยะเวลาที่ได้รู้จักกันสองปีผ่านไปแบบไวมาก
นับจากนี้ไปเราก็คงห่างกันไปเรื่อย ๆ แต่..ความรู้สึกที่ดีต่อกัน "ยังดี" และ "สม่ำเสมอ" เช่นเคย เราคงต้องนัดเพื่อมาพบเจอกันเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม
คุณโอ..เป็นบุคคลที่ร่าเริงและอารมณ์ดีมาก เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนนักศึกษา X-mie R4 ยิ่งนัก และเป็นที่รักของทุก ๆ คนที่รู้จักกัน งานใดที่ขาดคุณโอไปนั้น "กร่อย" เข้าขั้นเช่นกัน (จริง ๆ)
จากนั้น..กระผมก็เดินคุยกับคุณโอมาที่ตึกของคณะที่ศึกษา ในความนั้นมีอะไร ..ลองฟังกันครับ..
เดินมาถึง "ป้าย" หน้าตึก ก็ของถ่ายภาพไว้ซะหน่อย ตรงนี้มีบัณฑิตรอบันทึกภาพอย่างมากมาย ใคร ๆ ก็อยากได้ภาพสวย ๆ แบบนี้ไว้เป็นที่ระลึกของตนเอง จึงทำให้ต้องรอให้บัณฑิตที่รออยู่ก่อนถ่ายรูปไปก่อน
อาจจะเห็นเพียงว่าเ็ป็นแค่ป้ายเท่านั้น เมื่อวันเวลาผ่านไปแล้ว "คุณค่า" ของภาพที่ได้บันทึกไว้มัน "ยิ่งใหญ่" นัก เพราะมันสำคัญมากกับเหตุการณ์ของวันนั้น
ลองคิดดู...ท่านอาจจะจบการศึกษาไปแล้ว 6 ปี แล้วไปเช่าชุดเพื่อที่จะมาถ่ายภาพวันนี้ เพราะอดีตไม่ได้ถ่ายไว้ มันคนละความรู้สึกครับ และเราก็แก่ไปหลายปีแล้วด้วย
สำหรับภาพนี้ คือ "พี่เมศ" ครับ พี่เมศของแอบถ่ายภาพมุมนี้ไปก่อนละกัน "คิว" ที่รอถ่ายภาพด้านหน้าป้ายคณะนั้นเยอะมาก
ภาพที่พี่เมศ "ยกนิ้วโป้ง" ที่สองนิ้วนั้นประกันได้ว่า "ยอดเยี่ยมมาก" กับเหตุการณ์วันนี้ และเราก็เป็น "หนึ่งในตองอู" อีกคนที่ "ฝ่าด่านอรหันต์" ออกมาได้
แน่นอน...ผมว่าทุก ๆ คนที่มีวันนี้ต่าง "ปลื้มปิติ" แหละ "ชูใจ" เป็นอย่างยิ่ง
นาย..กระดิ่งทอง ก็ขอบันทึกภาพในตำแหน่งเดียวกันกับพี่เมศด้วย เนื่องจากรอนานแล้วเหมือนกัน
จึงต้องหามุมเก็บภาพไปเรื่อย ๆ บรรยากาศวันนั้นช่าง "ชื่นมื่น" เหลือหลาย มันเป็นความ "อิ่มเอิบใจ" ที่ได้มีวันนี้
ระดับประชาชนที่จบ "ปริญญาโท" ในเมืองไทยยังถือว่าไม่มากนัก หมายความว่า ระดับวุฒิที่สุง ๆ ก็ยิ่งมีบุคคลากรที่จบน้อยไปเรื่อย ๆ เสมือนรูปปิระมิด
พื้นฐานการพัฒนาประเทศโดยส่วนใหญ่จะต้องอาศัยการศึกษาของประชาชนในประเทศเป็นหลัก มีน้อยประเทศนักที่ไม่ต้องอาศัยการศึกษาของประชาชนเป็นหลัก แต่...อาศัยความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวและมุ่งพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน (ลองคิดสิว่าเป็นประเทศอะไร ?????)
รอนาน...จึงย้ายที่ขึ้นไปพบอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ที่ด้านบนตึกของคณะก่อน เป็นชั้นที่สี่ครับ..
วันนั้นมีลิฟท์แต่เนื่องจากลิฟท์ใช้การไม่ได้จึงต้องเดิน บนชั้นสี่นั้นคณะนักศึกษาจัดป้ายแสดงความยินดีให้กับรุ่นพี่ที่จบการศึกษาปี 2554 นี้ไว้แทนคำพูดที่หน้าประตู
เมื่อเราเดินมาถึงก็ต้อง "ขอบคุณ" เป็นอย่างยิ่งที่ตระเตรียมสถานที่และสละเวลากระทำให้กับรุ่นที่ที่จบการศึกษา กระผมก็ไม่รีรอ...ขอบันทึกภาพไว้เป็น "ที่ระลึก" ละกันครับ
สำหรับภาพนี้ กระผมก็ขอบันทึกภาพร่วมกับพี่โจ้ไว้ด้วย ...ภาพเก็บเหตุการณ์แบบทั่ว ๆ ไปจึงได้แบบเป็นธรรมชาติที่สุด
วันนั้นมีนักศึกษาเดินกันให้วุ่นไปหมด เพราะท่านอาจารย์ไม่อยู่ที่ห้องเลย ท่านคงไปทำธุระนอกห้อง หรือ "สวนทางกัน" น่ะ
คณะเราขึ้นมาก็เพื่อที่จะ "กล่าวขอบคุณ" และ "สวัสดี" กับท่านอาจารย์ทั้งหมดในวันนั้น ซึ่งท่านอาจารย์บางท่านก็ได้เจอที่ด้านล่างบ้าง ท่านก็แสดงความยินดีด้วยที่สามารถสำเร็จการศึกษาและมีวันนี้ไ้ด้
รออยู่นานเช่นกัน ซักพักจึงได้เจอกับท่านอาจารย์สมชาย ซึ่งสอนวิชาความปลอดภัย ท่านพึ่งจะขึ้นมาบนตึก ก่อนนั้นท่านเข้าไปพูดคุยพบปะกับนักศึกษาที่ด้านล่างเพื่อแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่เรียนจบ
ในภาพ พี่โจ้และพี่ชิน กำลังสวัสดีท่านอาจารย์พอดีเลย จากนั้นจึงขอบันทึกภาพเพื่อไว้เป็นที่ระลึกกับท่านอาจารย์หลายช้อตทีเดียว
ท่านอาจารย์นั้นตอนที่จะตั้งข้อสอบ ท่านจะตั้งเป็นปัจจุบันมาก เหตุการณ์อะไรที่เพิ่งเกิดขึ้นแบบใหญ่ ๆ นั้นแหละคือข้อสอบของท่าน
ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ "คิด" และ "วิเคราะห์" เหตุการณ์แบบปัจจุบันทันด่วน
ถึงแม้่ว่าจะเป็นวิชาที่คิดแล้วว่าจะง่ายการคำนวณน้อย
ป้ายนี้...หลาย ๆ ท่านร่วมบันทึกภาพร่วมกัน สำหรับสามท่านนี้คือ "พี่โจ้" ,"พี่ชิน" ,"คุณสายัณห์" ร่วมบันทึกภาพไว้ด้วยกัน
แน่นอน..เมื่อเวลาผ่านไปจะย้อนอดีตแบบนี้ไม่ได้แล้ว มีเพียง "ชมภาพ" ที่ได้บันทึกไว้ร่วมกันเท่านั้น
การที่จะมารวมกันได้แบบนี้ถือว่า "ยากมาก ๆ" เพราะต่างคนก็ต่างมีธุระของตน แม้ตอนที่ศึกษาอยู่นั้น พี่โจ้เองก็ไม่ค่อยมีเวลาซักเท่าไรนัก หากให้มาพบเจอกันแบบนี้ยิ่งยากไปใหญ่
ถัดมาเป็นภาพของ "พี่เอ๋" ครับ ท่าทางนั้น "ร่าเริง" มาก ยินดีกับความเร็จด้วยนะครับ พี่เอ๋..นั้นช่วยเหลือในด้านความรู้ให้กับกระผมมาก เป็นที่ปรึกษาอีกท่านหนึ่งที่สำคัญมาก
ช่วงเรียนนั้นกระผมได้ "รบกวน" เวลาของท่านเยอะมาก เนื่องจากผมไม่ค่อยเข้าใจจึงต้องขอความรู้กับพี่เอ๋เพิ่มเติม
ส่วนอีกท่านคือ "คุณชอร์ค" ครับ กระผมต้องขอขอบคุณท่านทั้งสองและทุก ๆ ท่านด้วย
หลังจากนั้นจึงลงมาที่หน้าึตึกด้านล่างเช่นเคย มาเจอกับท่านอาจารย์ ดร.ดร.อรรถกร เก่งพล ยืนถ่ายรูปกับนักศึกษาหลายกลุ่มทีเดียว
ชุดครุยของท่านอาจารย์นั้น "สวยงาม" เหลือเกิน ท่านอาจารย์กล่าวแสดงความยินดีกับเราแทบจะทุกคนเลย ดูท่านอาจารย์ยินดีกับเรามาก
จากที่ผ่าน ๆ มาท่านอาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับเรามาก อะไรที่พอจะแนะนำให้ได้ท่านจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
อย่างกรณีไปต่างประเทศท่านอาจารย์จะพาเราเดินชมและแนะนำสิ่งต่าง ๆ และเล่าประวัติให้ฟังเหมือนท่านอาจารย์เป็น "ไกด์" อย่างไรอย่างนั้นเลย
วิชาที่ท่านสอนนั้นส่วนหนึ่งในปัจจุบันเป็นที่รุ่งเรืองในประเทศไทยนั่นคือวิชา logistics (ขนส่ง) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นอย่างมากกับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะต้องเชื่อมต่อให้ทราบว่าสินค้านั้นกำลังอยู่ที่ใดและจะติดต่อกันได้อย่างไร
.....ลองฟังท่านอาจารย์ร่วมแสดงความยินดีกับเราซักหน่อยครับ....
หลังจากนั้น..กลุ่มเราจึงขอตัวจากท่านอาจารย์และบันทึกภาพยังจุดอื่น ๆ อีกภาพที่แสนจะมีผู้คนสนใจนั่นคือ "รถสปอร์ตปอร์เช่" หรือ "พอร์ช"
พี่เอ๋...รีบปรี่เข้าไปเลยครับ บอกผมว่า ...น้าดิ่ง ๆ ขอตรงนี้ซักภาพละกัน แหม!!!! ไม่ค่อยเลยนะ รถมันเป็นสีที่เด่นมาก
"เหลืองอร่าม" มาแต่ไกลเลย สังเกตุดูแล้วมีคนที่สนใจถ่ายภาพร่วมด้วยเยอะมาก อาจจะจุดอื่น ๆ คนรอเยอะจึงถ่ายภาพร่วมกับรถไปก่อน
อีกท่าน คือ "คุณเบิร์ด" ครับ ร่วมแจมกับรถสปอร์ตคันงามด้วยอีกคน คุณเบิร์ดนั้นความรู้ความสามารถไม่เป็นรองใคร
ตอนเรียนนั้นเงียบ ๆ แต่..สะสมความรู้ได้อย่างมากมายเลย และคอยช่วยเหลือกับเพื่อน ๆ นักศึกษาทุก ๆ คนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ
ภาพวีดีโอที่คุณเบิร์ดบันทึกไว้หลายเหตุการณ์นั้น กระผมยังไม่ได้ดูเลยนะท่านนะ...555
เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้ว เราก็จะแยกย้ายกันสู่ที่พัก เดินผ่านป้ายนี้กระผมเองจึงขอถ่ายภาพอีกซักภาพไว้หน่อย
ซึ่งเป็นป้ายที่เขียนข้อความได้กระชับและอ่านเข้าใจเป็นอย่างดี สีสันก็สวยสดุดตา
สำหรับพี่เอ๋ที่เดินด้วยกันนั้น ก็ขอบันทึกภาพไว้อีกเช่นกัน อีกอย่างคือตรงป้ายนี้คนถ่ายภาพน้อย
เราจึงของตรงจุดที่ถ่ายภาพง่าย ๆ ละกัน ป้ายอื่น ๆ ที่เด่นมาก ๆ ผู้คนก็จะเยอะเป็นพิเศษคล้ายป้ายอื่น ๆ
และใกล้ ๆ กันนั้นมีนักศึกษาของ "อมตะ รุ่น A2" อยู่ใกล้ ๆ ด้วย กำลังถ่ายภาพหมู่หน้า ร.๔ ด้วย
กระผมจึงบันทึกภาพด้านหน้า ร.๔ อีกภาพก่อนที่จะเดินออกจากมหาวิทยาลัย
และเบื้องหลังนั้นคณะนักศึกษา A2 กำลังง่วนอยู่กับการบันทึกภาพของกลุ่มเขา
ในใจก็คิดว่า...ต่อจากนี้ไปเราคงจะเหินห่างกันไปเรื่อย ๆ คงเหลือไว้เพียงแต่ความ "คิดถึง"
ยามใดที่สามารถจะพบเจอกันได้ก็ควรที่จะมาพบกัน นั่นเพราะมนุษย์เราเป็น "สัตว์สังคม"
อยู่คนเดียวก็อยู่ได้ แต่...ด้วยพันธุกรรมนั้นต้องมีสังคมบ้าง เพราะผมเองก็ยังไม่ "บรรลุ" ไง
ออกมาที่หน้ามหาวิทยาลัย มาเจอกับ "พี่อารักษ์" กลุ่มเราจึงขอพี่อารักษ์บันทึกภาพหน้ามหาวิทยาลัยอีกซักภาพหนึ่ง ถ้ารวมกันห้าคนนี้ยังไม่ได้ถ่ายภาพร่วมกันซักภาพเลย
กระนั้นก็อย่าเสียเวลาเลย ถ่ายภาพสวย ๆ อีกซักภาพสองภาพหน่อยเถอะพี่ ส่วนภาพของพี่อารักษ์สมัยที่ไปทำบุญที่ "กุดน้ำใส" อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ซึ่งท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร เป็นประธานทำบุญนั้น ท่านสามารถชมได้ตามลิ้งท์นี้ครับ
http://gradingthong.blogspot.com/search/label/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D..%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AA..%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99
เย็นนั้นก็เข้าที่พักกัน กว่าจะนอนก็เกือบเที่ยงคืนโน่นหนะ ...เพราะพี่เมศพาไป "ร้านลาบ" อีกแล้ว
แหม...หนีไม่พ้นจริง ๆ เลยนะพี่ (ของมันมัก..ใช่มั้ย) เพราะอะไร อาหารแบบไทย ๆ นั้นมันอร่อยมาก และรับประทานง่าย ราคาก็ไม่แพง รสชาดถูกปากเหลือหลาย
สำหรับเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็เลือกเดินทางไปกลับระยอง ส่วนอีกหลายท่านก็ขอพักที่ กทม.เลยละกัน
รุ่งเช้าก็เริ่มกิจกรรม "ซ้อม" ตั้งแต่ 09:00 น. ไปจนถึง 19:00 น. โอ๊ย...ย เข้มกันจริง ๆ และเหนื่อย เมื่อคิดว่าพร้อมมากที่สุดแล้วจึงเลิกงาน แหละมาถึงบ้านก็ซักห้าทุ่มของคืนนั้นเลย
นับว่าเป็น "หน้าประวัติศาสตร์" ของกระผมและทุก ๆ คนอีกครั้งหนึ่งทีเดียว
เหตุการณ์เช่นนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับชีวิตของแต่ละบุคคล
งานต่อไปเป็น "รับปริญญา" แบบแท้ ๆ เชิญติดตามได้ตอนต่อไปครับ
....ภาพแห่งความทรงจำของวันเกิดเหตุ....
จงประสบความสำเร็จกับทุก ๆ ท่านครับ
จาก ..กระดิ่งทอง
นั่นคือ..ระดับชั้นปริญญาโท "วิศวกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม" ของ..มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2554
กว่าจะสำเร็จนะท่านเอ๋ย...ไม่มีของดีและถูก รวมทั้งของฟรีไม่มีในโลกครับ ฉันใดก็ฉันนั้น ....
ก่อนที่จะไปรับจริง วันนี้ต้องซ้อมรับปริญญาบัตรก่อนนะ การซ้อมต้องซ้อมกันถึงสองวันแน่ะ
โดยกำหนดเป็นวันที่ 19-20 มกราคม 2556 นักศึกษาที่เข้าร่วมซ้อมรับปริญญาสำหรับปี 2556 นับรวมตั้งแต่ปริญญาตรี ,ปริญญาโท ,ปริญญาเอก ประมาณ 5,000 คน
เรียกได้ว่าปีหนึ่ง ๆ จบการเยอะน่ะ นี่แค่ของ มจพ. หรือ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือนะ
แหละยังมีของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบังอีกน่ะ โดยนับรวมกันแล้วปีนี้ของทั้งสามแห่งกว่า 12,000 ท่าน
นับวัน...คนที่มีความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเชื่อตามหลักไสยศาสตร์ก็ "น่าจะ" น้อยลง ๆ แต่คงจะไม่หมดหรอก ต้องใช้เวลาอีกนาน
กระผม..พร้อมกับ พี่เอ๋ รวมทั้ง พี่เมศ เราเข้าไปนอนพักที่ กทม. เลยครับ เนื่องจากลดความเสี่ยงการเดินทาง และปรารถอยากชมเมืองหลวงด้วย เพราะว่า...เรามันคนบ้านนอก
สถานที่ที่จองพักไว้คือ P-Park Residence ตั้งอยู่แถบแม่น้ำเจ้าพระยา ถือว่าเป็นด้านหน้าของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือก็ว่าได้
ระยะทางประมาณ 1.8 กม. สนนราคาห้องละ 1,200 บาท สองคืนรวม 2,400 บาท พักกันตั้งสามท่าน
ส่วน "น้องหมาก" นั้นมาสมทบภายหลัง แต่พอตกดึกเห็นเพื่อน ๆ มาพักด้วยหลายท่านแน่ะ ไม่ว่าจะเป็น คุณน้อย , น้องอาร์ต , คุณปริญญา
ตกเย็น...พี่เมศพาออกไปรับประทานอาหารและดื่มด่ำบรรยากาศแบบ "ร้านลาบ" ซึ่งพี่เมศกล่าวว่า ดินแดนแห่งนี้ในอดีตยังไม่เจริญเลย
กล่าวได้ว่าคือ "บ้านนอก" และพี่เมศคุ้นเคยมาก หรือจะเรียกว่า "ป่าอุจจาระ" ก็ได้
แต่สำคัญตอนที่เพิ่งเข้ามาถึง กทม.แหละกำลังขับรถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาน่ะสิ ผมถามว่า "นี่แม่น้ำอะไรพี่" พี่แกตอบ "แม่น้ำโขง" จบข่าว
พี่เมศ...เพิ่งจะออกรถมาใหม่ด้วย กระผมก็ขอบันทึกภาพกับรถใหม่ของพี่เมศหน่อย พี่เมศบอกเป็นน้ำพักน้ำแรงของพี่เลยนะเนี๊ยะ ใจจริงจะซื้อด้วยเงินสดแหละ
..แต่..แรงจูงใจเรื่องดอกเบี้ยมีมากคือผ่อนสี่ปีดอกเบี้ย 50,000 บาท งั้นขอเก็บเงินสดไว้ละกันนำไปทำอย่างอื่นให้ได้ประโยชน์มากกว่าดอกเบี่ยละกัน (พี่เมศและหลายคนก็คิดอย่างนั้น)
วันเดินทางไปมี "พี่เอ๋" อีกท่านหนึ่งเป็นเพื่อนคุยกันตลอดทาง เนื่องจากว่าไม่ได้พบกันมาซักระยะหนึ่งแล้วนั่นแหละ การสนทนาก็เล่าเรื่องจิปาถะไปเรื่อย
หนึ่งในนั้นก็เล่าถึง "งานใหม่" ของพี่เมศที่ได้งานทำกับ "ชาวอินเดีย" แรก ๆ พี่เมศบอก ...อยู่กับอินเดียโคตร "งง" เลย เนื่องจากถ้าเขาบอก "Ok" หรือ "ใช่" เขาจะ "ส่ายหัว" และถ้าเขาบอกว่า "No" หรือ "ไม่" เขาจะ "พยักหน้า"
ต้องปรับตัวอยู่นานว่าความหมายนี้มันคืออะไร ส่วนคำว่า "ฮัทช่า" นั้นคืออะไรผมก็จำไม่ได้
ประเทศอินเดียเขาพัฒนาตัวเองได้เร็วนะ แต่ภายในประเทศก็ยังแบ่งแยก "วรรณะ" อย่างชัดเจน นั่นก็เป็นเรื่องของเขา
ประเทศไทยเรื่อง "วรรณะ" น่ะจบไปนานแล้ว แต่..ก็จะแบ่งแยกกันเองว่า "บ้านนอก" หรือ "จน" กับ "รวย" เช่นเคย
สำคัญอีกอย่าง "ข้าใหญ๋นะเว้ย...เฮ้ย" หรือ "รู้มั้ยว่า..ข้า..ลูกใคร" ตัวคุณเองยังจำแม่ตัวคุณเองไม่ได้เลย หรือ "สำส่อน" จนหาที่มาไม่ได้
รุ่งเช้าของวันที่ 19 มกราคา 2556 เวลาที่นัดพบกันคือ 06.00 น. เพื่อรวมตัวกันที่ "สวนปาล์ม" ชื่อฟังแล้วแหม๊...คงกว้างและเยอะเน๊าะ มีไม่กี่ต้นหรอกท่าน ก็เรียนสวนปาล์มตาม ๆ เขาไป
ไปถึงคนยังน้อย แม่ค้าแม่ขายนำดอกไม้มาวางขายก่อนเราจะมาซะอีก เขาน่าจะมาตั้งแต่ "ตีสาม" คงอาจจะตื่นตั้งแต่ เที่ยงคืน ไม่งั้นจองที่ขายไม่ได้หรอก
ซุ้มดอกไม้ที่รุ่นน้องจัดไว้อย่างสวยงาม "พี่เอ๋" จึงของจัดซักภาพละกัน กล้องก็ไม่ค่อยจะเป็นใจเท่าไร บันทึกออกมาแล้ว "แสงไม่พอ" ทำให้ภาพไม่ชัดเท่าที่ควร
เช้านั้นตื่นกันตั้งแต่ 04.30 น. นี่ขนาดนอนอยู่แถว ๆ ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยนะ ก็เพราะอยู่กันสามคนไง กว่าจะ "สรงน้ำ" เสร็จแต่ละท่าน ใช้เวลาไม่น้อยนะ ยังไม่นับรวมถ่ายหนักอีก
คนไทยก็ยังคล้าย ๆ เดิม นัดไว้ 06.00 น. ก็มาไม่ถึงครึ่ง กลายเป็นวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ๋ไปซะแล้ว จริง ๆ ก็เป็นมานานแล้วแหละ ต้องนัดเผื่อ พอนัดเผื่อคนที่ตรงเวลาก็เหนื่อย
นี่ดู...ขนาดเรียกแถวแล้วนะ....เพื่อน ๆ ก็ต้องยืนรอกันตั้งนาน ถือว่านานมากสำหรับกลุ่มนี้ ที่เรียกเข้าแถวนั้นจะต้องไป "ถ่ายรูปหมู่" ไว้เป็นประวัติศาสตร์ของแต่ละรุ่นแต่ละคณะ
ในเมื่อมีคนมาช้า เขาก็จะรอให้ครบกันทุกคนจึงจะพาไปถ่ายรูปได้ ทำให้กลุ่มที่ต่ออยู่ด้านหลังก็ต้องยืดเวลาออกไปเรื่อย ๆ
"วินัย"...หรือ "คำอ้าง" เกิดได้กับทุก ๆ คนที่ไม่มีวินัยสำหรับตัวเอง
กลุ่มเรา "รอ" เพื่อที่จะเข้าแถวให้เขานำไปถ่ายรูปหมู่ จึงบันทึกภาพของตนเองไปก่อน จะได้เก็บไว้เป็น "ความทรงจำ" มันคงเป็นครั้งเดียวในชีวิตแน่ ๆ จะทำซ้ำไม่ได้เพราะไม่ใช่การถ่ายทำภาพยนต์
วันนี้ นักศึกษา X-mie R-4 ดูชื่นมื่นกันทุกคน เพราะไม่ได้เจอกันนาน สำหรับสาว ๆ นั้น "แต่งหน้าทาปาก เขียนคิ้ว" ผมเห็นแล้ว เฮ๊ย...ย ใช่ "ตุ๊ก" และ "หญิง" หรือมั๋ยนั่น มีแต่ "คุณน้อง" คนเดียวที่ไม่ทำอาราย แรกเจออย่างไรวันนี้ก็อย่างนั้น
สำหรับท่านหัวหน้าห้อง "พี่โจ้" นี้ต้องกล่าวถึงหน่อยครับ ไม่ค่อยได้มีภาพกับเขาซักเ่ท่าไร เพราะพี่ท่านก็จะไม่ค่อยว่าง "ตำแหน่งใหญ่งานเยอะ" ครับ
ถ้าไม่สำคัญพี่ท่านจะไม่ค่อยมีเวลามาครับ แต่...งานนี้ใช้ตัวแสดงแทนไม่ได้ ต้องออกโรงเอง ทำให้เห็นตัวเป็น ๆ ของพี่ท่านน่ะครับ
เมื่อรอจนได้ "คิว" ของตัวเองแล้วก็ตั้งแถวแล้วนักศึกษาก็นำกลุ่มเราไป "ถ่ายภาพหมู่" ของคณะวิศวกรรมศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม
...ชมภาพขณะที่รอเข้าแถวไปบันทึกภาพกันนะ...
ขณะที่เดินทางไปมี "คุณสุทัศน์" เดินอยู่ข้าง ๆ เราก็ได้สนทนาอะไร ๆ ไประหว่างทางบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย
เจอกันครั้งนี้บอกมีเครื่องจักรใหม่มานำเสนออีก โอ๊ว....ว "ล้ำหน้า" เป็นธรรมดาครับ อาชีพเซลล์ก็จะต้องมีสิ่งใหม่มานำเสนอกับลูกค้าตลอด เพราะโลกมันพัฒนาหรือเปลี่ยนไปไม่หยุดนิ่งนี่นา
ถัดมาอีก เป็นมือ "พิณ" แห่งเมืองอุบลฯ ไม่ใช่ ...มือ "กีต้าร์"..ต่างหาก คนนี้เล่นกีต้าร์ได้มันส์สะใจมากครับ
เพราะตอนงานปัจฉิมนิเทศน์นั้น ดึกดื่นและเมาเพียงใดท่านก็ยังสามารถเล่นเพลงได้อย่าง "เมา" และ "มันส์"
แหละก็ยังชอบเล่นดนตรีหลาย ๆ แบบด้วยนะ ร้องเพลงก็ไพเราะ มันเป็นความถนัดเฉพาะตน เรื่องแบบนี้สามารถเลียนแบบได้ครับเพราะเป็นสิ่งที่ดี
ถัดมาอีกท่านหนึ่ง ก็เป็นกลุ่มของ A-2 อมตะเช่นเคย "เป็นคนอีสานบ้านเฮา" นี่แหละ เจอกันครั้งแรกนึกว่าเป็นคน "กรุงเตพ" แหม...ที่ไหนได้ คนบ้านเดียวกันนี่เอง
เลยต้อง "เว้า" กันยาวเลย เรียกได้ว่า "ไม่ลืมซาติ" ของตนเอง บางคนนี่ไม่ได้นะ "กล้วเขารู้กำพืด" หรือ "อาย" ก็ไม่แน่ใจ
...เรามาชมภาพกันสนทนานั้นดีกว่า...
เราเดินมาเรื่อย ๆ ก็ใกล้จะมาถึง "แท่น" ยืนถ่ายภาพหมู่ แต่...ก่อนจะถึงสถานที่ถ่ายภาพนั้น เราเจอกับท่านอาจารย์ ดร.ดร.อรรถกร เก่งพล
ท่านอาจารย์ยืนต้อนรับนักศึกษาที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่าน โดยเฉพาะนักศึกษาอมตะรุ่นที่ 2 ซึ่งท่านอาจารย์เป็นที่ปรึกษาของรุ่นนี้โดยตรง
สมัยที่นักศึกษา X-mie R-4 และ A-2 ไปดูงานต่างประเทศ นับรวมทั้ง 3 ประเทศ นั่นคือ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ , ประเทศออสเตรีย ,ประเทศเยอรมัน
ท่านอาจารย์อรรถกร เก่งพล ก็อาสาเล่าประสบการณ์ต่างประเทศที่ท่านมีให้ฟังตลอดทาง ทั้งสามประเทศนั้นท่านอาจารย์พาเดินเที่ยวจุดสำคัญ ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ตลอดงานเลย
ยุโรปที่เจริญแล้ว..ผมว่าเป็นสถานที่ที่น่าหลงไหลมาก ถึงแม้บางแห่งจะถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หลายแห่งก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ให้คล้ายของเดิมที่มีอยู่
เมื่อเห็นสถานที่แล้ว ไม่แปลกใจเลยที่เขาพัฒนาได้เร็วและนานแล้วเสียด้วย มนต์ขลังที่มีในอดีตบวกกับสมัยใหม่ที่สร้างเพิ่มเติมน่าชวนชมเป็นอย่างยิ่ง
ลิงท์สมัยที่ไปดูงานยุโรปนั้นท่านสามารถติดตามได้ตามนี้ครับ
ถึงแล้วครับ...จุดที่เป็นแท่นขึ้นไปยืนถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน ซึ่งก็จะถ่ายกลุ่มใครกลุ่มมัน กลุ่มของเรานั้นเป็น "คณะวิศวกรรมศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม" แต่ละรุ่นนั้นนับ ๆ แล้วก็น่าจะกว่าร้อยชีวิต
ผมสังเกตุจากการทำงานแล้ว "มืออาชีพ" มากเลย กล้องและอุปกรณ์ที่ใช้นั้นขั้นแสนต้น ๆ บางชิ้นอยู่กลาง ๆ ล้าน
เรื่องคุณภาพนั้นก็น่าจะตามราคาของอุปกรณ์นะ และกรอบรูปมีให้เลือกใช้งานนั้นก็มีหลายหลาย เยอะเสียจน "ลังเล" ที่เลือกไปแล้วน่ะ
....ชมภาพขณะเดินไปถ่ายภาพหมู่เลยละกัน....
เมื่อถ่ายรูปหมู่เสร็จกระผมจึงขอถ่ายภาพกลุ่มนักศึกษา "X-mie A2" ไว้เป็นที่ระลึกซักหน่อย ซึ่งกระผมรวบรวมได้ 4-5 ท่าน
เนื่องจากเมื่อเลิกถ่ายภาพหมู่แล้วก็กระจัดกระจายกันไปสั่งจองภาพถ่ายกัน แหละช่วงนี้คนเยอะมาก อาจจะชุลมุน
สิ่งหนึ่งยิ่งทำให้มองหากันยาก..เพราะ..สีและชุดเหมือนกันหมด ครั้นจะเดินตามกันมารวมให้มากสุดก็ "เหนื่อย" แน่ ๆ จึงขอบันทึกภาพเท่่าที่รวมรวมได้ละกัน
กลุ่มนักศึกษา X-mie A2 กระผมถือว่าสามารถ "รวมกลุ่ม" ก้ันได้ดีมาก อยู่กันแบบพี่แบบน้อง คล้าย ๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีอย่างนั้นเลย
ให้ความเคารพกันและหยอกล้อฉันท์มิตร ซึ่งความรู้สึุกแบบนี้ "หายาก" กับสภาพการศึกษาลักษณะเช่นนี้
รุ่น X-mie A2 จะมี "พี่สุชาติ" เป็น "พี่ใหญ๋" ว่างั้นเถอะ สมาชิกก็ฟังพี่ใหญ่กันทุก ๆ ท่าน พี่ใหญ่ว่าอย่างไรหรือปรึกษาแล้วได้ความว่าไง พี่ใหญ่ก็กล่าวสรุป จากนั้นก็นำไปปฏิบัติ
การกระทำเช่นนี้จะนำมาซึ่ง "การพัฒนา" ได้อย่างรวมเร็ว...เพราะ...ไม่แตกแยก ซึ่งความเห็นพ้องต้องกันจะทำให้ทำในสิ่งเดียวและสำเร็จได้เร็ว ไม่ใช่ "ขัดขวาง" การดำเนินงานกันอยู่ตลอดเวลา
หรือคราวนี้เป็นทีของข้า คราวหน้าเป็นทีของเอ็ง สิ่งที่เอ็งทำมาข้าไม่สนับสนุนต่อ ข้าก็จะทำตามแบบของข้านี่แหละ
เมื่อไรเอ็งได้เข้ามาดำเนินงานก็ให้รื้อฝื้นงานของเอ็งละกัน ซึ่งแบบนี้มีตัวอย่างไม่ไกลครับ "ไทยเรานี่ไง" ถึงได้ "ย่ำ" อยู่กับที่
จากนั้นผมก็พบกับ "คุณโอ" ผมจึงเดินสนทนากับคุณโอไปเรื่อย ๆ วันนี้ถือว่าเป็น "วันแห่งความภาคภูมิใจ" ของเราทั้งหลายก็ว่าได้ เพราะการศึกษาตลอดระยะเวลาที่ได้รู้จักกันสองปีผ่านไปแบบไวมาก
นับจากนี้ไปเราก็คงห่างกันไปเรื่อย ๆ แต่..ความรู้สึกที่ดีต่อกัน "ยังดี" และ "สม่ำเสมอ" เช่นเคย เราคงต้องนัดเพื่อมาพบเจอกันเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม
คุณโอ..เป็นบุคคลที่ร่าเริงและอารมณ์ดีมาก เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนนักศึกษา X-mie R4 ยิ่งนัก และเป็นที่รักของทุก ๆ คนที่รู้จักกัน งานใดที่ขาดคุณโอไปนั้น "กร่อย" เข้าขั้นเช่นกัน (จริง ๆ)
จากนั้น..กระผมก็เดินคุยกับคุณโอมาที่ตึกของคณะที่ศึกษา ในความนั้นมีอะไร ..ลองฟังกันครับ..
เดินมาถึง "ป้าย" หน้าตึก ก็ของถ่ายภาพไว้ซะหน่อย ตรงนี้มีบัณฑิตรอบันทึกภาพอย่างมากมาย ใคร ๆ ก็อยากได้ภาพสวย ๆ แบบนี้ไว้เป็นที่ระลึกของตนเอง จึงทำให้ต้องรอให้บัณฑิตที่รออยู่ก่อนถ่ายรูปไปก่อน
อาจจะเห็นเพียงว่าเ็ป็นแค่ป้ายเท่านั้น เมื่อวันเวลาผ่านไปแล้ว "คุณค่า" ของภาพที่ได้บันทึกไว้มัน "ยิ่งใหญ่" นัก เพราะมันสำคัญมากกับเหตุการณ์ของวันนั้น
ลองคิดดู...ท่านอาจจะจบการศึกษาไปแล้ว 6 ปี แล้วไปเช่าชุดเพื่อที่จะมาถ่ายภาพวันนี้ เพราะอดีตไม่ได้ถ่ายไว้ มันคนละความรู้สึกครับ และเราก็แก่ไปหลายปีแล้วด้วย
สำหรับภาพนี้ คือ "พี่เมศ" ครับ พี่เมศของแอบถ่ายภาพมุมนี้ไปก่อนละกัน "คิว" ที่รอถ่ายภาพด้านหน้าป้ายคณะนั้นเยอะมาก
ภาพที่พี่เมศ "ยกนิ้วโป้ง" ที่สองนิ้วนั้นประกันได้ว่า "ยอดเยี่ยมมาก" กับเหตุการณ์วันนี้ และเราก็เป็น "หนึ่งในตองอู" อีกคนที่ "ฝ่าด่านอรหันต์" ออกมาได้
แน่นอน...ผมว่าทุก ๆ คนที่มีวันนี้ต่าง "ปลื้มปิติ" แหละ "ชูใจ" เป็นอย่างยิ่ง
นาย..กระดิ่งทอง ก็ขอบันทึกภาพในตำแหน่งเดียวกันกับพี่เมศด้วย เนื่องจากรอนานแล้วเหมือนกัน
จึงต้องหามุมเก็บภาพไปเรื่อย ๆ บรรยากาศวันนั้นช่าง "ชื่นมื่น" เหลือหลาย มันเป็นความ "อิ่มเอิบใจ" ที่ได้มีวันนี้
ระดับประชาชนที่จบ "ปริญญาโท" ในเมืองไทยยังถือว่าไม่มากนัก หมายความว่า ระดับวุฒิที่สุง ๆ ก็ยิ่งมีบุคคลากรที่จบน้อยไปเรื่อย ๆ เสมือนรูปปิระมิด
พื้นฐานการพัฒนาประเทศโดยส่วนใหญ่จะต้องอาศัยการศึกษาของประชาชนในประเทศเป็นหลัก มีน้อยประเทศนักที่ไม่ต้องอาศัยการศึกษาของประชาชนเป็นหลัก แต่...อาศัยความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวและมุ่งพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน (ลองคิดสิว่าเป็นประเทศอะไร ?????)
รอนาน...จึงย้ายที่ขึ้นไปพบอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ที่ด้านบนตึกของคณะก่อน เป็นชั้นที่สี่ครับ..
วันนั้นมีลิฟท์แต่เนื่องจากลิฟท์ใช้การไม่ได้จึงต้องเดิน บนชั้นสี่นั้นคณะนักศึกษาจัดป้ายแสดงความยินดีให้กับรุ่นพี่ที่จบการศึกษาปี 2554 นี้ไว้แทนคำพูดที่หน้าประตู
เมื่อเราเดินมาถึงก็ต้อง "ขอบคุณ" เป็นอย่างยิ่งที่ตระเตรียมสถานที่และสละเวลากระทำให้กับรุ่นที่ที่จบการศึกษา กระผมก็ไม่รีรอ...ขอบันทึกภาพไว้เป็น "ที่ระลึก" ละกันครับ
สำหรับภาพนี้ กระผมก็ขอบันทึกภาพร่วมกับพี่โจ้ไว้ด้วย ...ภาพเก็บเหตุการณ์แบบทั่ว ๆ ไปจึงได้แบบเป็นธรรมชาติที่สุด
วันนั้นมีนักศึกษาเดินกันให้วุ่นไปหมด เพราะท่านอาจารย์ไม่อยู่ที่ห้องเลย ท่านคงไปทำธุระนอกห้อง หรือ "สวนทางกัน" น่ะ
คณะเราขึ้นมาก็เพื่อที่จะ "กล่าวขอบคุณ" และ "สวัสดี" กับท่านอาจารย์ทั้งหมดในวันนั้น ซึ่งท่านอาจารย์บางท่านก็ได้เจอที่ด้านล่างบ้าง ท่านก็แสดงความยินดีด้วยที่สามารถสำเร็จการศึกษาและมีวันนี้ไ้ด้
รออยู่นานเช่นกัน ซักพักจึงได้เจอกับท่านอาจารย์สมชาย ซึ่งสอนวิชาความปลอดภัย ท่านพึ่งจะขึ้นมาบนตึก ก่อนนั้นท่านเข้าไปพูดคุยพบปะกับนักศึกษาที่ด้านล่างเพื่อแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่เรียนจบ
ในภาพ พี่โจ้และพี่ชิน กำลังสวัสดีท่านอาจารย์พอดีเลย จากนั้นจึงขอบันทึกภาพเพื่อไว้เป็นที่ระลึกกับท่านอาจารย์หลายช้อตทีเดียว
ท่านอาจารย์นั้นตอนที่จะตั้งข้อสอบ ท่านจะตั้งเป็นปัจจุบันมาก เหตุการณ์อะไรที่เพิ่งเกิดขึ้นแบบใหญ่ ๆ นั้นแหละคือข้อสอบของท่าน
ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ "คิด" และ "วิเคราะห์" เหตุการณ์แบบปัจจุบันทันด่วน
ถึงแม้่ว่าจะเป็นวิชาที่คิดแล้วว่าจะง่ายการคำนวณน้อย
ป้ายนี้...หลาย ๆ ท่านร่วมบันทึกภาพร่วมกัน สำหรับสามท่านนี้คือ "พี่โจ้" ,"พี่ชิน" ,"คุณสายัณห์" ร่วมบันทึกภาพไว้ด้วยกัน
แน่นอน..เมื่อเวลาผ่านไปจะย้อนอดีตแบบนี้ไม่ได้แล้ว มีเพียง "ชมภาพ" ที่ได้บันทึกไว้ร่วมกันเท่านั้น
การที่จะมารวมกันได้แบบนี้ถือว่า "ยากมาก ๆ" เพราะต่างคนก็ต่างมีธุระของตน แม้ตอนที่ศึกษาอยู่นั้น พี่โจ้เองก็ไม่ค่อยมีเวลาซักเท่าไรนัก หากให้มาพบเจอกันแบบนี้ยิ่งยากไปใหญ่
ถัดมาเป็นภาพของ "พี่เอ๋" ครับ ท่าทางนั้น "ร่าเริง" มาก ยินดีกับความเร็จด้วยนะครับ พี่เอ๋..นั้นช่วยเหลือในด้านความรู้ให้กับกระผมมาก เป็นที่ปรึกษาอีกท่านหนึ่งที่สำคัญมาก
ช่วงเรียนนั้นกระผมได้ "รบกวน" เวลาของท่านเยอะมาก เนื่องจากผมไม่ค่อยเข้าใจจึงต้องขอความรู้กับพี่เอ๋เพิ่มเติม
ส่วนอีกท่านคือ "คุณชอร์ค" ครับ กระผมต้องขอขอบคุณท่านทั้งสองและทุก ๆ ท่านด้วย
หลังจากนั้นจึงลงมาที่หน้าึตึกด้านล่างเช่นเคย มาเจอกับท่านอาจารย์ ดร.ดร.อรรถกร เก่งพล ยืนถ่ายรูปกับนักศึกษาหลายกลุ่มทีเดียว
ชุดครุยของท่านอาจารย์นั้น "สวยงาม" เหลือเกิน ท่านอาจารย์กล่าวแสดงความยินดีกับเราแทบจะทุกคนเลย ดูท่านอาจารย์ยินดีกับเรามาก
จากที่ผ่าน ๆ มาท่านอาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับเรามาก อะไรที่พอจะแนะนำให้ได้ท่านจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
อย่างกรณีไปต่างประเทศท่านอาจารย์จะพาเราเดินชมและแนะนำสิ่งต่าง ๆ และเล่าประวัติให้ฟังเหมือนท่านอาจารย์เป็น "ไกด์" อย่างไรอย่างนั้นเลย
วิชาที่ท่านสอนนั้นส่วนหนึ่งในปัจจุบันเป็นที่รุ่งเรืองในประเทศไทยนั่นคือวิชา logistics (ขนส่ง) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นอย่างมากกับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะต้องเชื่อมต่อให้ทราบว่าสินค้านั้นกำลังอยู่ที่ใดและจะติดต่อกันได้อย่างไร
.....ลองฟังท่านอาจารย์ร่วมแสดงความยินดีกับเราซักหน่อยครับ....
หลังจากนั้น..กลุ่มเราจึงขอตัวจากท่านอาจารย์และบันทึกภาพยังจุดอื่น ๆ อีกภาพที่แสนจะมีผู้คนสนใจนั่นคือ "รถสปอร์ตปอร์เช่" หรือ "พอร์ช"
พี่เอ๋...รีบปรี่เข้าไปเลยครับ บอกผมว่า ...น้าดิ่ง ๆ ขอตรงนี้ซักภาพละกัน แหม!!!! ไม่ค่อยเลยนะ รถมันเป็นสีที่เด่นมาก
"เหลืองอร่าม" มาแต่ไกลเลย สังเกตุดูแล้วมีคนที่สนใจถ่ายภาพร่วมด้วยเยอะมาก อาจจะจุดอื่น ๆ คนรอเยอะจึงถ่ายภาพร่วมกับรถไปก่อน
อีกท่าน คือ "คุณเบิร์ด" ครับ ร่วมแจมกับรถสปอร์ตคันงามด้วยอีกคน คุณเบิร์ดนั้นความรู้ความสามารถไม่เป็นรองใคร
ตอนเรียนนั้นเงียบ ๆ แต่..สะสมความรู้ได้อย่างมากมายเลย และคอยช่วยเหลือกับเพื่อน ๆ นักศึกษาทุก ๆ คนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ
ภาพวีดีโอที่คุณเบิร์ดบันทึกไว้หลายเหตุการณ์นั้น กระผมยังไม่ได้ดูเลยนะท่านนะ...555
เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้ว เราก็จะแยกย้ายกันสู่ที่พัก เดินผ่านป้ายนี้กระผมเองจึงขอถ่ายภาพอีกซักภาพไว้หน่อย
ซึ่งเป็นป้ายที่เขียนข้อความได้กระชับและอ่านเข้าใจเป็นอย่างดี สีสันก็สวยสดุดตา
สำหรับพี่เอ๋ที่เดินด้วยกันนั้น ก็ขอบันทึกภาพไว้อีกเช่นกัน อีกอย่างคือตรงป้ายนี้คนถ่ายภาพน้อย
เราจึงของตรงจุดที่ถ่ายภาพง่าย ๆ ละกัน ป้ายอื่น ๆ ที่เด่นมาก ๆ ผู้คนก็จะเยอะเป็นพิเศษคล้ายป้ายอื่น ๆ
และใกล้ ๆ กันนั้นมีนักศึกษาของ "อมตะ รุ่น A2" อยู่ใกล้ ๆ ด้วย กำลังถ่ายภาพหมู่หน้า ร.๔ ด้วย
กระผมจึงบันทึกภาพด้านหน้า ร.๔ อีกภาพก่อนที่จะเดินออกจากมหาวิทยาลัย
และเบื้องหลังนั้นคณะนักศึกษา A2 กำลังง่วนอยู่กับการบันทึกภาพของกลุ่มเขา
ในใจก็คิดว่า...ต่อจากนี้ไปเราคงจะเหินห่างกันไปเรื่อย ๆ คงเหลือไว้เพียงแต่ความ "คิดถึง"
ยามใดที่สามารถจะพบเจอกันได้ก็ควรที่จะมาพบกัน นั่นเพราะมนุษย์เราเป็น "สัตว์สังคม"
อยู่คนเดียวก็อยู่ได้ แต่...ด้วยพันธุกรรมนั้นต้องมีสังคมบ้าง เพราะผมเองก็ยังไม่ "บรรลุ" ไง
ออกมาที่หน้ามหาวิทยาลัย มาเจอกับ "พี่อารักษ์" กลุ่มเราจึงขอพี่อารักษ์บันทึกภาพหน้ามหาวิทยาลัยอีกซักภาพหนึ่ง ถ้ารวมกันห้าคนนี้ยังไม่ได้ถ่ายภาพร่วมกันซักภาพเลย
กระนั้นก็อย่าเสียเวลาเลย ถ่ายภาพสวย ๆ อีกซักภาพสองภาพหน่อยเถอะพี่ ส่วนภาพของพี่อารักษ์สมัยที่ไปทำบุญที่ "กุดน้ำใส" อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ซึ่งท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร เป็นประธานทำบุญนั้น ท่านสามารถชมได้ตามลิ้งท์นี้ครับ
http://gradingthong.blogspot.com/search/label/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D..%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AA..%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99
เย็นนั้นก็เข้าที่พักกัน กว่าจะนอนก็เกือบเที่ยงคืนโน่นหนะ ...เพราะพี่เมศพาไป "ร้านลาบ" อีกแล้ว
แหม...หนีไม่พ้นจริง ๆ เลยนะพี่ (ของมันมัก..ใช่มั้ย) เพราะอะไร อาหารแบบไทย ๆ นั้นมันอร่อยมาก และรับประทานง่าย ราคาก็ไม่แพง รสชาดถูกปากเหลือหลาย
สำหรับเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็เลือกเดินทางไปกลับระยอง ส่วนอีกหลายท่านก็ขอพักที่ กทม.เลยละกัน
รุ่งเช้าก็เริ่มกิจกรรม "ซ้อม" ตั้งแต่ 09:00 น. ไปจนถึง 19:00 น. โอ๊ย...ย เข้มกันจริง ๆ และเหนื่อย เมื่อคิดว่าพร้อมมากที่สุดแล้วจึงเลิกงาน แหละมาถึงบ้านก็ซักห้าทุ่มของคืนนั้นเลย
นับว่าเป็น "หน้าประวัติศาสตร์" ของกระผมและทุก ๆ คนอีกครั้งหนึ่งทีเดียว
เหตุการณ์เช่นนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับชีวิตของแต่ละบุคคล
งานต่อไปเป็น "รับปริญญา" แบบแท้ ๆ เชิญติดตามได้ตอนต่อไปครับ
....ภาพแห่งความทรงจำของวันเกิดเหตุ....
จงประสบความสำเร็จกับทุก ๆ ท่านครับ
จาก ..กระดิ่งทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น