วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมันดิบไหลลงสู่ทะเล 50 ตัน เนื่องจากท่อส่งแตก

เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2556 เวลาประมาณ 05.23 น. มีการรายงานว่าท่อส่งน้ำมันดิบจากเรือที่ต่อเข้าฝั่ง "แตก" ทำให้มีน้ำมันหกล้นลงทะเลกว่า 50 ตัน หรือประมาณ 50,000 ลิตร หรือมากกว่านั้น

สืบทราบได้ว่าเป็น "ผลงาน" ของบริษัท pttgc ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม ปตท. ซึ่งเรารู้จักกัน

ส่วนสาเหตุที่แน่ชัดนั้น...ยังไม่สรุปว่าเกิดจากอะไร แต่กระนั้นก็อยู่ในขั้นที่ต้องสวบสวนต่อไป (ส่วนนี้กระผมไม่เกี่ยวข้อง)

การจะมา "วิพากวิจารณ์" ถึงเหตุที่เกิดขึ้นนั้น...มันเกิดขึ้นเพราะอะไรหรือใครทำ เป็นความรับผิดชอบของใคร

ทำอย่างไรถึงได้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ จะอยู่ในขั้นตอนการ"สืบสวนสอบสวน" ต่อไป...ขอรับ

บางครั้งบางครา...มันก็เป็น "สามัญสำนึก" ของคนที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นเป็นสำคัญด้วย


เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เกิดเป็นครั้งแรกในโลก  เกิดหลายครั้งแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้แต่ละครั้งจะทำให้ "สูญเสีย" หลาย ๆ อย่างแบบ "มหาสาร"

ทั้งเงินตรา และภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อบริษัท รวมทั้งถูกประณามว่า "ทำลายสิ่งแวดล้อม" แบบหาที่เปรียบมิได้


 ถ้ายังจำเหตุการณ์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 ที่ "อ่าวเมกซิโก" ได้ ครั้งนั้นเป็นของบริษัทน้ำมันยักย์ใหญ่ชื่อว่า บีพี


จำนวนของน้ำมันที่รั่วไหลคราวนั้นประมาณ 4.9 ล้านบาร์เรล หรือ 779,100,000 ลิตร หรือ ประมาณ 779,100 ตัน (เนื่องจากความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบใกล้เคียงกับน้ำมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.98)

แต่ด้วยปริมาณที่มันอยู่รวมกันแบบเยอะแยะเมื่อมันรวมเป็นกลุ่มเป็นก้อนสถานะของน้ำมันดิบต้องจมอยู่ในน้ำเป็นการชั่วระยะเวลาหนึ่ง

จำนวนของน้ำมันที่ทะลักล้นลงสู่ทะเลของบริษัท บีพี ครั้งนั้นครอบคลุมพื้นที่เป็นแนวยาวถึง 1,728 กม. 
ส่วนใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่แถวปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี่เป็นส่วนใหญ่


บริษัทได้รับการเสนอวิธีที่จะจัดการกับคราบน้ำมันดิบนับรวมกันถึงกว่า 10,000 วิธี  แต่...ที่บริษัทยอมรับมาพิจารณาถึงหัวข้อที่เป็นไปมีถึง 700 วิธี

ไม่ว่าจะกระทำการปฏิบัติแบบใดด้วยวิธีที่ช่วย ๆ กันคิดขึ้นมาสามารถแบ่งแยกได้ 3 วิธีการด้วยกันคือ 

1. วิธีการทางกายภาพ
2. วิธีการทางเคมี
3. วิธีการทางชีวภาพ

วิธีที่เห็นกันจนชินตาและบ่อยดังเช่น การเก็บกวาด ,การดูด, การตัก ,การใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย ,การซับน้ำมันจากที่เกิดเหตุโดยตรง 

สำหรับกรณีของไทยเราหรือของบริษัท ปตท.โกลบอลเคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ pttgc นั้น ตัวเลขครั้งนี้บอกว่า 50,000 ลิตร หรือประมาณ 314 บาร์เรล 

ราคาซื้อขายน้ำมันดิบคิดที่บาร์เรลละ 107 บาท (09 สิงหาคม 2556) เท่ากับ 33,598 บาท  แต่ทั้งนี้ยังไม่นับรวม "ค่าโสหุ้ย" ต่าง ๆ ที่จะต้องจ่าย เช่น ค่าขนส่งทางเรือ ,ค่าจอดเรือ, ค่าพนักงาน ,ค่าพนักงานเดินเรื่อง ,ค่าภาษี ฯลฯ


แหละที่สำคัญ...ค่าจัดการกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหลังน้ำมันรั่ว ก็เช่น ค่าชดเชยความเสียหายของการท่องเที่ยวที่โรงแรมจะควรได้ช่วยเกิดเหตุการณ์ ,ค่าฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมาดังเดิม,ค่าแรงงานที่ต้องจ้างไปเก็บกวาด, ค่าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าช่วยเหลือตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย  


หลังจากนั้นยังมีเงินที่ต้องเข้าไปฟื้นฟูสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปกติเช่นเดิม ,การรักษาชื่อเสียงของบริษัทให้กลับมาในทางที่ดีเช่นเคย หรือต้องให้ดีกว่าเก่า ท้ายสุด...ความไว้วางใจ

เมื่อท่อส่งน้ำมันแตกก็จะทำน้ำมันที่ซื้อมาจากต่างแดนไหลลงสู่ทะเลทันใด  คล้าย ๆ "นำเงินไปโยนทิ้งลงทะเล" โดยไม่ตั้งใจ ถ้าความหมายเป็นอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว....แน่นอนว่า...ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้แน่

....ติดตามกันต่อนะครับ.....ดึกแล้ว