ความประทับใจกับสิ่งที่ดี ๆ นั้นทำให้เป็น "แรงบันดาลใจ" เกิดขึ้นกับน้องนิ้งตั้งแต่บัดนั้นมา
สำหรับการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกของน้องนิ้งนั้น ท่านสามารถชมและติดตามได้ตามนี้เลยครับ...
http://gradingthong.blogspot.com/2010/06/blog-post_22.html
ความประทับใจมีอะไรบ้างสำหรับประเทศนี้
ดังเช่น
1.ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ใหญ่ว่าอย่างไร..ทุกคนปฏิบัติตามนั้น
2.การไม่รับ "ทิป" หรือ "ติ๊บ" เมื่อบริการผู้อื่น แต่...เน้นทำงานให้เต็มที่
4.การตรงต่อเวลา
5.ผิด..ต้องรับผิดและขอโทษกับสิ่งที่กระทำไป
6.รักชาติเยี่ยงชีวิต
7.เคารพ..เทอดทูลและปกป้องกษัตริย์เป็นที่ตั้งและไม่กล่าวถึงไม่ว่ากรณีใด ๆ ...ยกเว้น "ความดี"...
8.เมื่อมีการตัดสินไม่ว่าเรื่องใดจะเคารพการตัดสินนั้น
9.เคารพและเชื่อมั่นคำสั่งสอนของผู้ใหญ่
10.เคารพและรักษ์บรรพบุรุษ ฯลฯ
11.คำกล่าวต้อนรับและขอบคุณลูกค้าเหมือนกันทั้งประเทศ
12.ให้เกียรติหรือ "ไม่ดูถูก" อาชีพของคนอื่น
อื่น ๆ อีกมากมาย
น้องโซ่...อายุอานามอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันกับน้องนิ้ง จึงทำให้เกิดความสนิทสนมได้ง่าย พูดจาอะไร ๆ ได้ง่ายดายเพราะอยู่ในวัยเดียวกัน
ถ้าเพื่อนร่วมชั้นอายุต่างกัน การพูดคุยอาจจะไม่ง่ายเมื่อสื่อด้วยภาษาของวัยเดียวกัน หรือที่เรียกว่า "เกิดช่องว่างระหว่างวัย"
ฉะนั้น...เซนเซ่..จึงต้องจัดสรรนำชุดประจำชาติของเขามาให้นักเรียนได้ใส่ชุด และ "ถ่ายรูป" ไว้เป็นที่ระลึกด้วย
การร่ำเรียนภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกของทั้งสองคนเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2554 สำหรับการบันทึกภาพจะเป็นวันที่ 10 กรกฏาคม 2554
หรือ "น้องนิ้ง" กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 ของโรงเรียนตากสินระยอง แรงบันดาลใจอีกอย่างที่น้องนิ้งมีคือ ...การไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อถึงเวลาไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นแต่เรายังไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นจะทำให้เรา "ลำบาก" ถึงแม้จะมีภาคการเรียนที่เป็น "International" หรือ "ภาษาอังกฤษ" ก็ตาม
รวมทั้งการสื่อสารกับคนท้องถิ่นด้วย การใช้ภาษาอังกฤษในประเทศนี้อาจจะทำให้เราไม่ได้คำตอบเลยก็ได้ ทดสอบแบบง่าย ๆ ให้ลองนึกถึงประเทศไทย ให้ฝรั่งไปถามอะไร ๆ กับคนบ้านนอกเรา คาดว่าจะได้คำตอบหรือไม่
เมื่อเห็นทั้งสองคนแต่งตัวแล้ว "น่ารัก" ยิ่งนัก "ชุดกิโมโน" นี้จะเป็นชุดธรรมดา ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเลย และประชาชนของเขาให้การสนับสนุนการแต่งตัวแบบนี้มาก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการ "อนุรักษ์วัฒนธรรม" ของเขาให้ยืนยาวรวมทั้งเพื่อเป็น "เอกลักษณ์" ของประเทศด้วย เมื่อถึงวันสำคัญ ๆ ก็พยายามให้ประชาชนเขาใส่ไปงานต่าง ๆ ด้วย
ที่เห็นชัด ๆ เช่น วันรับปริญญาบัตร ทั้งชายและหญิงสามารถใส่ชุดกิโมโนไปรับปริญญาบัตรได้ และกระผมเองก็เห็นใส่กันเยอะด้วย
คนที่ใส่ชุดกิโมโนก็ "ไม่เขินอาย" ไม่เหมือนคนไทยใส่ชุดไทย จะเป็นเรื่อง"แปลก" ถ้าใครใส่ ทั้ง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเราแท้ ๆ
สำคัญอีกจุดคือ ประเทศญี่ปุ่นเองสนับสนุนให้คนที่ใส่ชุดกิโมโนสามารถขึ้นรถโดยสาร "ฟรี" อีกด้วย เนื่องจากเขาเห็นว่าเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเขา และน้อยคนจะใส่ชุดกิโมโน เพราะจะเดินเร็ว ๆ ไม่ได้
เริ่มต้น..จึงอยากเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะได้ทราบภาษาและวัฒนธรรมของเขาเป็นเยี่ยงใด ทำให้ต้องไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่โรงแรมสตาร์ระยอง
ขณะที่ไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่โรงแรมสตาร์ระยองนั้น น้องนิ้งจะมีเพื่อนเรียนอีก 1 คน นั่นคือ "น้องโซ่"
เซนเซ่...หรือ ครูผู้สอนเป็นคนญี่ปุ่นโดยแท้ ลักษณะคือ เป็นคนญี่ปุ่นที่เข้ามาพำนักหรือทำงานในเมืองไทย แล้วใช้เวลาว่างเพื่อมาสอนพิเศษ
คล้าย ๆ กับอีกหลาย ๆ คนที่ไปทำมาหากินในต่างประเทศ โดยสอนภาษาของตนเองกับบุคคลที่สนใจ อาจจะเปิดสอนที่บ้านหรือสอนในสถาบันสอนภาษา
เซนเซ่..ที่สอนน้องนิ้งนั้นชื่อ "ซูซูกิ" ท่านสอนได้ดีมาก และน้องนิ้งก็ชอบด้วย เรียกว่า "สอนสนุก..เรียนเข้าใจ"
แน่นอนว่าถ้าเรียนสนุกสอนเข้าใจนักเรียนก็จะ "อยากเรียน"
ถ้าเพื่อนร่วมชั้นอายุต่างกัน การพูดคุยอาจจะไม่ง่ายเมื่อสื่อด้วยภาษาของวัยเดียวกัน หรือที่เรียกว่า "เกิดช่องว่างระหว่างวัย"
เมื่อเรียนไปซักพักนักเรียนที่เรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็อยากจะแต่งชุดประจำชาติของเขาบ้าง
นั่นคือ "แต่งชุดกิโมโน" โอว...มันแน่นอนอยู่แล้วใคร ๆ ที่เรียนก็อยากแต่งชุดนี้แน่ ฉะนั้น...เซนเซ่..จึงต้องจัดสรรนำชุดประจำชาติของเขามาให้นักเรียนได้ใส่ชุด และ "ถ่ายรูป" ไว้เป็นที่ระลึกด้วย
เมื่อทั้งคู่แต่งตัวจน "สวย" ได้ใจแล้วจึงให้มาบันทึกรูปไว้เป็นที่ระลึกร่วมกัน ยามใดที่หวนนึกถึงก็ให้กลับมาดูรูปที่เคยถ่ายไว้
ปัจจุบัน.."น้องนิ้ง" ยังจำชื่อเพื่อนคนนี้ได้ และการไป "ท่องเที่ยวญี่ปุ่นครั้งที่สอง" น้องนิ้งยังชวน "น้องโซ่" ไปด้วย แต่..น้องโซ่ ไม่สะดวกจึงทำให้ไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนถิ่นปลาดิบด้วยกัน
การร่ำเรียนภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกของทั้งสองคนเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2554 สำหรับการบันทึกภาพจะเป็นวันที่ 10 กรกฏาคม 2554
หรือ "น้องนิ้ง" กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 ของโรงเรียนตากสินระยอง แรงบันดาลใจอีกอย่างที่น้องนิ้งมีคือ ...การไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น
จุดนี้สำคัญมาก ทำให้ต้องมาเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อเป็นพื้นฐานไว้ก่อน ถ้าจะรอให้ไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วค่อยมาเรียนภาษาญี่ปุ่นภายหลัง จะทำให้ "ล่าช้า" และ "เรียนยาก"
เมื่อถึงเวลาไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นแต่เรายังไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นจะทำให้เรา "ลำบาก" ถึงแม้จะมีภาคการเรียนที่เป็น "International" หรือ "ภาษาอังกฤษ" ก็ตาม
รวมทั้งการสื่อสารกับคนท้องถิ่นด้วย การใช้ภาษาอังกฤษในประเทศนี้อาจจะทำให้เราไม่ได้คำตอบเลยก็ได้ ทดสอบแบบง่าย ๆ ให้ลองนึกถึงประเทศไทย ให้ฝรั่งไปถามอะไร ๆ กับคนบ้านนอกเรา คาดว่าจะได้คำตอบหรือไม่
เมื่อเห็นทั้งสองคนแต่งตัวแล้ว "น่ารัก" ยิ่งนัก "ชุดกิโมโน" นี้จะเป็นชุดธรรมดา ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเลย และประชาชนของเขาให้การสนับสนุนการแต่งตัวแบบนี้มาก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการ "อนุรักษ์วัฒนธรรม" ของเขาให้ยืนยาวรวมทั้งเพื่อเป็น "เอกลักษณ์" ของประเทศด้วย เมื่อถึงวันสำคัญ ๆ ก็พยายามให้ประชาชนเขาใส่ไปงานต่าง ๆ ด้วย
ที่เห็นชัด ๆ เช่น วันรับปริญญาบัตร ทั้งชายและหญิงสามารถใส่ชุดกิโมโนไปรับปริญญาบัตรได้ และกระผมเองก็เห็นใส่กันเยอะด้วย
คนที่ใส่ชุดกิโมโนก็ "ไม่เขินอาย" ไม่เหมือนคนไทยใส่ชุดไทย จะเป็นเรื่อง"แปลก" ถ้าใครใส่ ทั้ง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเราแท้ ๆ
สำคัญอีกจุดคือ ประเทศญี่ปุ่นเองสนับสนุนให้คนที่ใส่ชุดกิโมโนสามารถขึ้นรถโดยสาร "ฟรี" อีกด้วย เนื่องจากเขาเห็นว่าเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเขา และน้อยคนจะใส่ชุดกิโมโน เพราะจะเดินเร็ว ๆ ไม่ได้
ช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียนสอนภาษาที่โรงแรมสตาร์ระยองนั้น มีผู้ที่สนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นจำนวนไม่มาก อาจจะไม่คุ้มกับการเปิดสอน จึงทำให้โรงเรียนขอ "ยุติ" การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นชั่วคราว ทำให้นักเรียนทั้งสองต้องแยกย้ายกันไปเรียนที่อื่น
วันใดที่เดินมาพบกัน ขอให้ทักทายกันด้วยนะจ๊ะ ...ซาโยนาระ
วันใดที่เดินมาพบกัน ขอให้ทักทายกันด้วยนะจ๊ะ ...ซาโยนาระ