วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

แต่งกลอนแปด เพื่อเพิ่มทักษะ

โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง คุณครูของน้องนิ้ง ห้อง 3/16 ให้นักเรียนแต่งกลอนแปดเพื่อเพิ่มทักษะ


น้องนิ้ง หรือ ด.ญ.พนิตสภา อยู่เย็น ในชั่วโมง "ภาษาไทย" คุณครูก็จะให้นักเรียนแต่ง "บทกลอน" ซึ่งกลอนที่แต่งขึ้นมาแล้วฟังแล้วจะรู้สึกว่า "ไพเราะ..เพราะพริ้ง" จะเป็น "กลอนแปด" ซะส่วนใหญ่


ทำไม...ถึงเป็นอย่างนั้น  ที่ได้ชื่อว่าเป็น..กลอนแปด  เนื่องจากว่า..แต่ละวรรค แต่ละตอนจะมีด้วยกัน 8 คำ  หากดูตามบรรทัดแล้วถ้าลงด้วยแปดคำ ประโยคจะสวยและคำจะไพเราะมาก
 

ในประโยคสามารถ "อรุ่ม อร่วย" ให้ลดลงจากแปดคำได้ เช่น อาจจะเป็น 7 คำ หรือ 6 คำ อย่างต่ำ ๆ สุดไม่ควรต่ำกว่า 6 คำในประโยคนั้น เนื่องจากว่า ....คำจะไม่ค่อย "เสนาะหู" ซะแล้ว อาจจะหมายถึง "สั้นไป" หรือ มันจบเร็วไปนั่นเอง  และจาก 8 คำสามารถยืดให้ได้ถึง 9 คำก็ได้เพื่อให้ประโยคลงตัว

แต่อย่างไรก็ยังเรียกเป็น ..กลอนแปด...อยู่นั่นแหละ  กลอน 8 เมื่อฟังแล้วจะไพเราะกว่ากลอนอื่น ๆ หรือกล่าวได้ว่า "นุ่มหู"  

พื้นฐานการแต่งกลอนแปดนั้นจะต้องมีคำที่ "คล้องจอง" หรือ "พ้องเสียง" กัน คำว่าคล้องจอง,พ้องเสียงหมายความถึงเสียงที่ "รับกัน" ซึ่งอาจจะผิดรูปก็ได้ 

เป็นดังนี้    ในวรรคแรกของคำที่ลงท้าย  จะต้องไปพ้องเสียงกับคำที่สามของประโยคถัดไปในแถวแรก  กระผมขอยกตัวอย่างเพลงซักเพลงละกัน



ซึ่งจะพบได้ง่ายกับ "เพลง" ไทยที่แต่งกันอย่างมากมาย จะพบได้มากกับ "เพลงลูกทุ่งไทย" นั่นเป็นกลอนแปดที่แต่งได้สมส่วนมาก  ดังเช่น เพลงมนรักลูกทุ่ง  มีเนื้อเพลงดังนี้

              หอมเอย..หอมดอกกระฐิน  รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง
     เห็ดตับเต่าขึ้นอยู่ริมเถาหญ้านาง    มองเห็นบัวสะร้างลอยกลิ่นริมบึง
          
           ได้คันเบ็ดสักคนพร้อมเหยื่อ    มีน้องนางแก้มเรื่อนั่งเคียงตกปลา
         ทุ่งรวงทองของเรานี้มีคุณค่า    มนต์รักลูกทุ่งบ้านนาหวานแว่วแผ่วดังกังวาล


(จะมาต่อ..อีกจ้า)